เวลาใส่รองเท้าเซฟตี้นั่งยองๆลำบากไหม? พูดคุยเกี่ยวกับการทดสอบความยืดหยุ่นของรองเท้าเซฟตี้

เวลาใส่รองเท้าเซฟตี้นั่งยองๆลำบากไหม?  พูดคุยเกี่ยวกับการทดสอบความยืดหยุ่นของรองเท้าเซฟตี้

 

รองเท้าเซฟตี้ของคุณนั่งยองๆลำบากไหม? 
ทุกครั้งที่ใส่รู้สึกตึงๆแข็งๆบ้างไหม?
คุณรู้หรือไม่ว่ามีอะไรอยู่ด้านในรองเท้าเซฟตี้?

นอกจากหัวเหล็กที่ป้องกันการบาดเจ็บส่วนหัวรองเท้าแล้ว รองเท้านิรภัยบางอันก็มีแผ่นเหล็กอยู่ด้วย! รุ่นที่สูงกว่าอาจใช้แผ่นเส้นใยเคฟล่า(ใช้ทำเกาะกันกระสุน) ซึ่งแผ่นเหล็กและแผ่นเส้นใยเคฟล่านี้ใช้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการเจาะ  ตัวอย่างเช่นในโรงงานเหล็ก มักมีเศษเหล็กซึ่งเล็กและแหลม หากคุณเผลอเหยียบมันคุณอาจได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นรองเท้านิรภัยในอุตสาหกรรมแปรรูปจึงจำเป็นต้องมีแผ่นป้องกันการเจาะเพิ่มเติม

การเพิ่มแผ่นเหล็กให้กับพื้นรองเท้านอกจากเพิ่มการป้องกัน  ยังเพิ่มน้ำหนัก และอาจทำให้นั่งยองๆลำบาก
ดังนั้นผู้ผลิตบางรายที่ใส่ใจในรายละเอียดนี้ จึงเปลี่ยนมาใช้แผ่นเส้นใยเคฟล่า  แต่คนจีนยังรู้สึกกลัวเล็กน้อยเกี่ยวกับ “ผ้า” นี้และต้นทุนของแผ่นเหล็กถูกกว่า ดังนั้นแผ่นเหล็กจึงยังคงเป็นทางเลือกของผู้ผลิตส่วนใหญ่

การทดสอบรองเท้าเซฟตี้มีหลากหลายการทดสอบ แต่มีการทดสอบหนึ่งที่น่าสนใจ
ซึ่งก็คือการทดสอบนี้คล้ายกับการทดสอบว่าสามารถนั่งยองได้กี่ครั้ง!?
ซึ่งต้องผ่านทั้งหมด 30000 ครั้ง! แล้วทำไมต้อง 30000 ครั้งละ?
สมมุติว่าทุกเดือนทำงาน 22 วัน  และใน 1 วันนั่งยองๆทั้งหมด 100 ครั้ง  ทำซ้ำอย่างนี้เป็นเวลา 1 ปี

แล้วการทดสอบความยืดหยุ่นนี้จะทดสอบยังไงละ?
ให้คนนั่งๆยืนๆ 30000 ครั้งหรอ?แน่นอนว่าไม่ใช่!
เครื่องจำลองจะทำการงอด้วยกำลังที่คงที่ และ F คือทิศทางของแรง  หลังจาก 30000 ครั้ง
รอยเปิดตรงส่วนหัวรองเท้าจะต้องไม่เกิน 4 mm  ดังภาพด้านล่าง

เป็นยังไงบ้างน่าสนใจใช่ไหมละ?

อ่านเพิ่มเติม : ความต่างระหว่างแผ่นเหล็กและแผ่นเส้นใยเคฟล่า

Leave a Reply